เมนู

[407] ธรรม 4 อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ญาณ 4
คือ ความรู้ในธรรม 1 ความรู้ในการคล้ายตาม 1 ความรู้ในการกำหนด 1
ความรู้ในการสมมติ 1. ธรรม 4 อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[408] ธรรม 4 อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อริยสัจ 4 คือ
ทุกขอริยสัจ 1 ทุกขสมุทัยอริยสัจ 1 ทุกขนิโรธอริยสัจ 1 ทุกขนิโรธ
คามินีปฏิปทาอริยสัจ 1. ธรรม อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[409] ธรรม 4 อย่างควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ สามัญญ-
ผล 4 คือ โสดาปัตติผล 1 สกทาคามิผล 1 อนาคามิผล 1 อรหัตผล 1.
ธรรม 4 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม 4 อย่างเหล่านี้ จริง แท้
แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ
ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมหมวด 5



[410] ธรรม 5 อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม 5 อย่าง ควรเจริญ
ธรรม 5 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 5 อย่าง ควรละ ธรรม 5 อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม 5 อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม 5
อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม 5 อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม 5 อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม 5 . อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[411] ธรรม 5 อย่างมีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ องค์เป็นที่
ตั้งแห่งความเพียร 5 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มี
ศรัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาค

เจ้า พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก ฝึกผู้ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้
จำแนกธรรม 1 เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยไฟธาตุมีผล
สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง ควรแก่การตั้งความเพียร 1
ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้แจ้ง ตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือ
ในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู 1 ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อเข้าถึงกุศลธรรม มีกำลังมีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม 1
มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเห็นความเกิดและความดับ อันเป็นจริยา
เป็นไปเพื่อความแทงตลอด อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ 1 ธรรม
5 อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[412] ธรรม 5 อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สัมมาสมาธิ
ประกอบด้วยองค์ 5 คือ ปีติแผ่ไป 1 สุขแผ่ไป 1 การกำหนดจิตผู้อื่น
แผ่ไป 1 แสงสว่างแผ่ไป 1 นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา 1 ธรรม 5 อย่าง
เหล่านี้ ควรเจริญ
[413] ธรรม 5 อย่าง ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน. ได้แก่อุปาทาน-
ขันธ์ 5 คือ รูปูปาทานขันธ์ 1 เวทนูปาทานขันธ์ 1 สัญญูปาทานขันธ์ 1
สังขารูปาทานขันธ์ 1 วิญญาณูปาทานขันธ์ 1 ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ ควร
กำหนดรู้.
[414] ธรรม 5 อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ นิวรณ์ 5 คือ
กามฉันทะ 1 พยาบาท 1 ถีนมิทธะ 1 อุทธัจจกุกกุจจะ 1 วิจิกิจฉา 1

ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[415] ธรรม 5 อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ได้แก่
เจตขีล 5 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เคลือบแคลง
สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่
น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย
เพื่อความตั้งมั่น ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใด เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อม
ใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อ
ความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความ
ตั่งมั่น จิตของภิกษุใด ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ
เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น นี้ เป็นเจตขีลข้อที่หนึ่ง.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ เคลือบแคลง สงสัย
ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม . . . ในสงฆ์ . . . ในการศึกษา เป็น
ผู้โกรธ ไม่ชอบใจ ขัดใจ กระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูก่อนผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุใด โกรธ ไม่ชอบใจ ขัดใจ กระด้างในเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อการประกอบ
เนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น จิตของภิกษุใด ไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย
เพื่อความตั้งมั่น นี้ เป็นเจตขีลข้อที่ 5. ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ เป็นไปใน
ส่วนข้างเสื่อม.
[416] ธรรม 5 อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
อินทรีย์ 5 คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญิน-
ทรีย์. ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.

[417] ธรรม 5 อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ
เป็น ที่ตั้งแห่งการสลัดออก 5 คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุใน
ธรรมวินัย นี้ กระทำกามไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่
ไม่น้อมใจไป ในกามทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้น กระทำเนกขัมมะไว้ในใจ
จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในเนกขัมมะจิตของภิกษุนั้น
ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากจากกาม อาสวะเหล่าใด
มีความคับแค้น มีความเร่าร่อนเกิดขึ้น เพราะกามเป็นปัจจัย ภิกษุนั้น พ้น
แล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เป็นที่สลัดออกแห่งกามทั้งหลาย.
ก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทำพยาบาท
ไว้ในใจ จิต ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในพยาบาท
ก็เมื่อภิกษุนั้น กระทำความไม่พยาบาทไว้ในใจ จิต ย่อมแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งอยู่ น้อมใจไป ในความไม่พยาบาท จิตของภิกษุนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากพยาบาทได้แล้ว อาสวะเหล่าใดมีความ
คับแค้น มีความเร่าร้อน เกิดขึ้น เพราะมีพยาบาทเป็นปัจจัย ภิกษุนั้น
พ้นแล้ว จากพยาบาทเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งพยาบาท.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุ กระทำความ
เบียดเบียนไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไป
ในความเบียดเบียน ก็เมื่อเธอ กระทำความไม่เบียดเบียนไว้ในใจ จิตย่อม

แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในความไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้น
ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นไปดีแล้ว พรากจากความเบียด
เบียน อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีความ
เบียดเบียนเป็นปัจจัย เธอพ้นแล้ว จากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งความเบียดเบียน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทำรูปไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในรูปทั้งหลาย เธอเมื่อกระทำอรูปไว้
ในใจ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในอรูป จิตของเธอนั้น
ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากจากรูปทั้งหลาย
อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีรูปเป็นปัจจัย
เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นที่สลัดออก แห่งรูปทั้งหลาย.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทำกายของตนไว้ในใจ จิตย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในกายของตน ก็เมื่อเธอ
กระทำไว้ในใจถึงความดับกายของตน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมใจไปในความดับกายของตน จิตของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากกายของตน และอาสวะเหล่าใดมีความคับ
แค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีกายของตนเป็นปัจจัย เธอพ้นแล้วจาก
อาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น
ที่สลัดออกแห่งกายของตน. ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.

[418] ธรรม 5 อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ สัมมา
สมาธิประกอบด้วยญาณ 5 คือ ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้
มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า
สมาธินี้ เป็นอริยะไม่มีอามิส. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้
อันบุรุษไม่ต่ำทรามเสพแล้ว ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ สงบ
ประณีต ได้ปฏิปัสสัทธิแล้ว ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่ข่มขี่
ห้าม สสังขารจิต ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า เรานั้นแล มีสติ เข้าสมาธิ
และเรามีสติออกจากสมาธินี้. ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[419] ธรรม 5 อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่ วิมุตตายตนะ 5
คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา หรือ เพื่อน พรหมจรรย์อยู่ใน
ฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ภิกษุรู้ อรรถกและรู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่พระศาสดาหรือเพื่อน
พรหมจรรย์อยู่ในฐานะเป็นครู รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถ รูปธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด
เมื่อใจมีปีติ กาย ย่อมสงบ ผู้มีการสงบ ย่อมเสวยความสุข เมื่อเมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น นี้ ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควร
เคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุ อีกอย่างหนึ่ง ย่อมแสดง
ธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้อรรถ
และรู้ธรรม ในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่
ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถรู้

ธรรม เมื่อปราโมทย์ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควร
เคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งไม่แสดงธรรมตามที่
ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร อีกอย่างหนึ่ง ย่อมกระทำ
การท่องบ่นธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา โดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้
อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุ กระทำการท่องบ่น
ธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอ
รู้อรรถผู้รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด. เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ
ข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควร
เคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรม ทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง.
ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร ทั้งไม่กระทำการท่องบ่นธรรมตามที่
ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา อีกอย่างหนึ่ง เธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตาม
ธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้
ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรม
ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้
อรรถรู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ
ข้อที่สี่.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควร
เคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรม ทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตาม
ที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร ทั้งไม่กระทำการท่องบ่นธรรม ตามที่
ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา โดยพิสดาร ทั้งไม่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตาม
ธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ อีกอย่างหนึ่ง สมาธินิมิต
อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เธอเรียนดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทง
ตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น
โดยประการที่สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุเรียนดีแล้ว กระทำไว้
ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ความปราโมทย์
ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถ รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมี
ปีติ กายยู่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่ห้า. ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[420] ธรรม 5 อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ ธรรม
ขันธ์ 5 คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม 5 อย่างเหล่านี้
จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว
โดยชอบ.

ว่าด้วยธรรมหมวด 6



[421] ธรรม 6 อย่างมีอุปการะมาก ธรรม 6 อย่างควรเจริญ
ธรรม 6 อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม 6 อย่างควรละ ธรรม 6 อย่าง